วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไร่นาสวนผสมมีรายได้

เหลือกินเหลือใช้

การเกษตรแบบผสมผสานคือระบบเกษตรที่มีการปลูกพืช และมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลาย ชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด มีการเกื้อกูลประโยชน์ ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ และผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ก้าวเข้ามาเป็นนโยบายของทางราชการที่เน้นความสำคัญตามโครงการไร่นาสวนผสมตามแนวทางพระราชดำริ ด้วยการส่งเสริมโครงการไร่นาสวนผสมให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ ช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ได้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาหารเพียงพอ ช่วยลดรายจ่ายไม่สร้างหนี้สิน เพิ่มรายได้ในครอบครัว
ดังกรณีของนายสิงห์ เสาร์มั่น หนึ่งในเกษตรกรที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริการทำเกษตรแบบผสมผสานมาปฏิบัติใช้จนประสบความสำเร็จในชีวิต จากที่เมื่อก่อนมีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว เมื่อเสร็จหน้านาก็ออกเดินทางเร่ร่อนขายแรงงานรับจ้างทั่วไป ฐานะความเป็นอยู่ยากจน ต่อมาแต่งงานกับนางสำรวย ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสุโขทัย ยึดอาชีพทำนาที่หมู่ 8 ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
แต่ธรรมชาติไม่เป็นใจฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล นาข้าวจึงได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นและตั้งใจไว้ ต่อมาได้เข้า รับการอบรมในด้านการทำการเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ ของสำนักงานเกษตรอำเภอคีรีมาศ และใฝ่หาความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องของการเพาะปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ เรื่อยมาและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านวัตถุปัจจัยจากนิคมสหกรณ์การเกษตรพิชัยเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่ นายสิงห์ได้มีการปฏิบัติจริงจนมีความชำนาญ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอคีรีมาศจึงได้ส่งเข้าประกวดผลงานการทำไร่นาสวนผสมตามแนวทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริ และได้รับรางวัลดีเด่นโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปัจจุบันนายสิงห์ มีเนื้อที่ 32 ไร่ ในการทำไร่นาสวนผสม โดยแบ่งพื้นที่เป็นสระเลี้ยงปลา 5 บ่อ ปลูกพืชยืนต้นหลายชนิด เช่น มะนาว มะม่วง ขนุน มะพร้าวน้ำหอม น้อยหน่า มะกอก ส้มโอ มะปราง มะขามหวาน ฝรั่ง และปลูกผักสวนครัว 1 ไร่ ทำนา 3 ไร่ สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ 2 หลัง บ่อบาดาล 2 บ่อ จากการทำเกษตรแบบผสมผสานทำให้มีรายได้เฉลี่ยวันละ 300-400 บาทต่อวัน พอเพียงแก่การใช้จ่ายภายในครัวเรือนและยังมีพอให้เหลือเก็บออมเพื่อใช้ในยามที่ต้องการอีกด้วย ปัจจุบันได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดการทำไร่นาสวนผสมของนิคมสหกรณ์พิชัย มีเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานอย่าง ต่อเนื่อง
การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ของนายสิงห์ เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องและสมดุลกันอย่างลงตัวของแร่ธาตุพลังงานในพื้นที่ที่เอื้อต่อการเพาะปลูกมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรม การผลิตต่าง ๆ ซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ทีเดียว.



รายละเอียด:





10 - 7 เท่ากับ ? (ตอบเป็นตัวเลข)





ค้นหา สมาชิก



สมาชิก:

รหัสผ่าน:







สมัครสมาชิก

ลืมชื่อสมาชิกหรือรหัสผ่าน

ลืมชื่อสมาชิก หรือ รหัสผ่านอีเมลที่คุณใช้



ข่าวยอดนิยม

ประกาศรับสมัครงาน

หวานหอมเป็ดพะโล้รสเด็ด

ประโยชน์จากงาขาวและงาดำ

อาหาร ‘แดช’ ลดความดันโลหิต

ซอนต๊อก วันที่ 27 สิงหาคม 2553

น้ำหล่อลื่นเกินพอ

ป่วนอีก! ซุกบึ้มปลอมข้างคูหาเลือกตั้ง

เสียเลือด!

พธม.มอบตัวแล้ว 'จำลอง'โดนข้อหาหัวหน้าก่อการร้าย

วงจรชีวิต วันที่ 27 สิงหาคม 2553

เรื่องอื่นๆ ในคอลัมน์

กองทุนชาวนา ใกล้เป็นจริง

'ประกันรายได้' ปี2 แจ้งเท็จถูกตัดสิทธิ

ทำไร่นาสวนผสมมีรายได้

แผนพัฒนาการเกษตร....เน้นความต้องการเกษตรกร

ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรในชุมชน

เทิดไว้เหนือเกล้าชาวไทย

มหกรรม 'ไผ่แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ'

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

บ้านแม่ตุงติง วันนี้อยู่เย็นเป็นสุข

กลไกราคาสินค้าเกษตร...

โฆษณา

ปลูกแขกดำศรีสะเกษ

เพื่อหลีกเลี่ยงโรคจุดวงแหวน

หลายคนก็ทราบดีว่าปัญหาหลักของการปลูกมะละกอ ในประเทศไทยคือ โรคไวรัสจุดวงแหวน หรือบางคนเรียกสั้น ๆ ว่า “โรคจุดวงแหวน” ซึ่งปัจจุบันนี้มีการระบาดไปทุกพื้นที่ของการปลูกมะละกอ
และนี่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พื้นที่การปลูกมะละกอในประเทศไทยลดลงเป็นลำดับ ในทางวิชาการต่างก็ทราบดีว่าเมื่อมะละกอ เป็นโรคจุดวงแหวนแล้วไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้อย่างรุนแรง ต้นมะละกอจะเป็นโรคนี้ตายก่อนที่ต้นมะละกอจะออกดอกและติดผลด้วยซ้ำไป มะละกอทุกสายพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้ มีโอกาสเป็นโรคจุดวงแหวนได้ทุกสายพันธุ์ แม้แต่พันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ก็ไม่ต้านทานต่อโรคนี้เช่นกัน
ในการแก้ปัญหาโรคจุดวงแหวนในมะละกอแบบยั่งยืน จะต้องใช้วิธีเทคโนโลยีการตัดต่อยีนหรือวิธีการพันธุ วิศวกรรม ซึ่งขณะนี้งานวิจัยมะละกอตัดต่อยีนที่กรมวิชาการเกษตรทำไว้ประสบผลสำเร็จและเสร็จสิ้นลง แล้วในส่วนของการหาพันธุ์ต้านทานโรคจุด วงแหวน
ผศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน์ จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยว กับโรคจุดวงแหวนในมะละกอว่า ไวรัสจุดวงแหวนเป็นไวรัสทำลายผลผลิตมะละกอเป็นส่วนมากและยังรวมถึงแตงด้วย โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ เพลี้ยอ่อนไม่ใช่ศัตรูสำคัญของมะละกอ เป็นแมลงที่หาอาหารด้วยการดูด ชิมต้นอื่นอีก โดยใช้เวลาเพียงน้อยนิดใน การดูดชิมจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งและ ถ่ายเชื้อไวรัส ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวสวนที่มักปลูกพืชตระกูลแตงร่วมในแปลงมะละกอ ซึ่งเป็นพืชที่เป็นบ้านของไวรัส ชนิดเดียวกันทำให้การควบคุมโรคยิ่งยาก เข้าไปอีก
ในขณะที่ รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี จากภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลับมองต่างมุมออกไปเกี่ยวกับปัญหาโรคจุดวงแหวนในมะละกอไม่น่าจะใช่เรื่องสำคัญที่สุด ถ้าเกษตรกรมีการจัดการบำรุงรักษาต้นมะละกอให้แข็งแรง และสมบูรณ์ จะทนทานต่อโรคได้ดีระดับหนึ่ง แต่กลับห่วงปัญหาเรื่องการใช้ยาฆ่าหญ้าในแปลงปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเป็นสารฆ่าหญ้าในกลุ่มไกลโฟเสท และสาร 2, 4-ดี โดยเฉพาะสาร 2, 4-ดี ละอองยาสามารถ ฟุ้งกระจายไปไกลได้นับร้อยเมตร เมื่อต้น มะละกอได้สัมผัสสารฆ่าหญ้าจะทำให้ใบหงิก และมีลักษณะอาการเหมือนกับโรคไวรัสจุด วงแหวน
ทำให้เกษตรกรหลายรายเข้าใจผิดว่ามะละกอที่ปลูกเป็นโรคจุดวงแหวน แต่ความจริงแล้วเกิดจากละอองของยาฆ่าหญ้า ทำให้ใบหงิกงอและชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกมะละกอจะต้องตระหนักเป็นพิเศษ ไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าหญ้าในแปลง ปลูกมะละกอ.

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำหมักไล่แมลงในนาข้าว

ข้าว(1)น้ำหมักไล่แมลงในนาข้าวใช้มะกรูด50ลูกน้ำ20ลิตรEM 1ลิตรน้ำตาลสีรำ1กก.


ข้าว(2)ผ่ามะกรูดเป็น8ส่วนผสมทุกอย่างหมัก10วันการใช้น้ำหมัก1ลิตร/น้ำ10ลิตร


ด้วยประสบการณ์และการศึกษาเรียนรู้ที่จะนำสิ่งที่ได้มาต่อยอดทำให้คุณลุงเฉลียวมีความชำนาญและนำสิ่งรอบตัวนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด บ้านคุณลุงเฉลียวได้ชื่อว่าเป็นบ้านที่ไม่มีทั้งแมลงวัน และ ยุงเลยก็ว่าได้ และด้วยสาเหตุนี้บ้านคุณลุงเฉลียวจึงเป็นที่รู้จักของหลายๆส่วนและหน่วยงานคุณลุงเฉลียวมีความสามารถจนหลายๆหน่วยองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนได้เชิญไปเป็นวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ คุณลุงเองได้ให้ทราบถึงว่าคุณลุงเป็นคนที่ไม่ต้องการรางวัลใดๆและไม่รับทั้งงบประมาณสนับสนุนต่างๆ แต่ยินดีที่จะให้ทั้งความรู้ถ้าผู้ที่สนใจที่จะมาศึกษา ภูมิปัญญาที่น่าสนใจ


น้ำหมักมะกรูด

ส่วนผสม

1.อีเอ็ม(คิวเซ) 1ลิตร

2.น้ำตาลสีรำ 1 กก.

3.น้ำสะอาด 20 ลิตร

4.มะกรูด 30-50 ลูก

วิธีการทำ

1.นำมะกรูดที่เตรียมไว้ 30-50 ลูกผ่าเป็น 8 ส่วน

2.นำน้ำสะอาด 20 ลิตรเตรียมใส่ถังหมัก

3.นำมะกรูดที่ผ่าแปดเรียบร้อยแล้วบีบบริเวณใต้น้ำเพื่อสารบริเวณผิวมะกรูดจะอยู่อย่างครบถ้วน

4.จากนั้นจึงนำอีเอ็ม(คิวเซ)และน้ำตาลสีรำใส่ถังแล้วคนให้เข้ากัน

5.ปิดฝาถังแล้วหมักทิ้งไว้ 10 วัน

อัตราการใช้

ผสมกับน้ำอัตราส่วนน้ำหมัก1 ลิตร/น้ำเปล่า 10 ลิตร

ประโยชน์

นำมาใช้กับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเช่นถูบ้าน ล้างจาน ซักผ้า สระผม เทใส่ในห้องน้ำ ปรับสภาพอากาศภายในบ้านให้สดชื่น ทำให้ยุงและแมลงวัน แมลงสาบ จะไม่เข้าในบ้าน ต้องฉีดต่อเนื่อง หรือนำไปผสมกับน้ำฉีดในนาข้าว แมลงจะไม่รบกวน

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แก้โรคใบหงิก-เขี้ยวเตี้ย

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานให้ความ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติแนวทาง การ ให้การช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก รวมงบประมาณ 1,240 ล้านบาท เกษตรกร 20,681 ราย พื้นที่ 398,577 ไร่ ให้กระทรวงเกษตรฯดำเนินการโดยได้ประกาศให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการใน 11 จังหวัด ได้แก่ นครนายก พิษณุโลก อ่างทอง อุทัยธานี ปทุมธานี กำแพงเพชร ชัยนาท พิจิตร ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าวกล่าวว่า ได้รับรายงานจากกรมส่งเสริมการเกษตรพบว่า มีเกษตรกรยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 8 จังหวัด จำนวน 11,191 ราย พื้นที่ 198,146.75 ไร่เกษตรกรผ่านการประชาคมจำนวน 10,037 ราย พื้นที่ 169,461 ไร่ ผ่านการไถกลบ พื้นที่ 159,946.75 ไร่ เกษตรกรผ่านการพักนา 30 วัน 7,082 ราย พื้นที่ 124,250.50 ไร่ ส่วนการช่วยเหลือเป็นเงินสดในอัตรา ไร่ละ 2,280 บาทต่อไร่ เบิกจ่ายจากเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 281,060,000 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างจังหวัดขออนุมัติโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร
ส่วนการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดส่งให้สำนักงานเกษตรจังหวัดต่อไป.

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รีไซเคิลลำไยอัดแท่ง

นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อกว่า ตามข้อตกลงในการทำลายลำไยค้างสต๊อก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องบดลำไยให้หมดทั้ง 60 โกดังภายในเวลา 150 วัน นับจากวันที่ได้รับการโอนงบประมาณเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำลำไยที่บดแล้วไปอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลและนำไปจำหน่ายและนำรายได้คืนรัฐตามสัญญา

โดยขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สามารถบดลำไยแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยตามจำนวนที่ได้รับมอบจากองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยบดลำไยได้ทั้งสิ้น 46,309.04 ตัน คิดเป็น 99% จากลำไยทั้งหมด 46,828.17 ตัน ส่วนที่เหลือ 1% หรือประมาณ 519.13 ตัน เป็นลำไยที่ อ.ต.ก.ไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากมีการสูญเสียจากระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดเชื้อรา กล่องเน่าเปื่อยฉีกขาดประมาณ 248 ตัน อีกประมาณ 270 ตัน เป็นลำไยที่พบปัญหาเรื่องปริมาณและคุณภาพ ซึ่ง อ.ต.ก.ต้องอายัดไว้เป็นของกลางเพื่อตรวจสอบต่อไป
สำหรับผลผลิตลำไยจาก 8 จังหวัดภาคเหนือในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะออกสู่ตลาดรวมประมาณ 396,959 ตัน แยกเป็น จังหวัดเชียงใหม่ 162,828 ตัน เชียงราย 51,264 ตัน พะเยา 17,346 ตัน น่าน 14,025 ตัน ลำปาง 1,754 ตัน ลำพูน 140,816 ตัน ตาก 5,697 ตัน และจังหวัดแพร่ 3,229 ตัน ซึ่งลดลงจากปี 2552 คิดเป็น 19.19% และแม้ว่าผลผลิตในภาพรวมจะลดลงแต่กลับพบว่า ผลผลิตจะกระจุกตัวสูงมากในช่วงเดือนกรกฎาคม ประมาณ 163,293 ตัน และเดือนสิงหาคม 199,612 ตัน ซึ่งอาจเกิดปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำได้ กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งเตรียมแผนบริหารจัดการลำไย ปี 2553 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการ ผลไม้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
และได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เสนอขออนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 557.59 ล้านบาท เป็นเงินจ่ายขาด 157.59 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน 400 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการบริหารจัดการลำไย ปี 2553 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป้าหมาย 158,000 ตัน.

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบหมี่...สมุนไพรสำหรับเส้นผม

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ใบหมี่เป็นพืชที่ให้สารเมือกที่มีประโยชน์ทางเครื่องสำอางโดยมีการนำมาทำยาสระผม ใบหมี่เป็นพืชในท้องถิ่น หาได้ง่าย ราคาไม่แพง ชาวบ้านนิยมนำมาใช้สระผมเนื่องจากมีสารเมือก (mucilage) ที่มี polysac charide เป็นองค์ประกอบหลัก สารสกัดจากใบหมี่มีสารสำคัญที่มีสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาที่ใช้ภายนอก ใบหมี่ มีชื่อในตำรับ ยาล้านนาว่า หมีเหม็น มีชื่อในท้องถิ่นอื่นในภาคเหนือว่า มะเย้อ, ยุบเหยา, หมีเหม็น, ยุกเยา, ยุบเย้า, ดอกจุ๋ม (ลำปาง), หมี่, ตังสีไพร (พิษณุโลก) เป็นต้น...

ใบหมี่เป็นไม้ยืนต้น ส่วนที่ใช้ประ โยชน์ทางยาและเครื่องสำอางของใบหมี่ คือ ราก เปลือกต้น ใบ เมล็ด และยาง ใบหมี่มีข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา คือ ราก แก้ไข้ออกฝีเครือ แก้ลมก้อนในท้อง แก้ฝี และแก้ริดสีดวงแตก ส่วนข้อบ่งใช้ทางแพทย์แผนไทย คือ ราก แก้ปวดตามกล้ามเนื้อ เปลือกต้น ใช้แก้ปวดมดลูก แก้คัน แก้อักเสบ แก้แสบตามผิวหนัง แก้บิด ใบใช้แก้ปวดมดลูก แก้ฝี แก้ปวด ถอนพิษร้อน เมล็ดใช้ตำพอก แก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบต่าง ๆ ยางใช้แก้บาดแผล แก้ฟกช้ำ



บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ติดริมลำน้ำชี ลำน้ำสาขาที่แยกพื้นที่ของสองจังหวัด ระหว่าง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ และ อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีสวนใบหมี่ ที่ปลูกขึ้นโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของใบหมี่ที่นำมาเป็นวัตถุหลักในการผลิตยาสระผม
นายรัชชัย ตลอดไธสง ผู้จัดการสวนสมุนไพรใบหมี่ เล่าให้ฟังว่า สวนสมุนไพรใบหมี่นี้เกิดจากความตั้งใจที่จะรวบรวมนำต้นหมี่มารวมไว้ในที่เดียว หลังจากที่มีการทำธุรกิจแชมพูสมุนไพรจากใบหมี่สด ที่มีคุณสมบัติช่วยให้เส้นผมแข็งแรง โดยวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้นั้นเป็นใบหมี่สดถึง 95% จากเดิมนั้นใช้ใบหมี่ที่อยู่ตามหัว ไร่ปลายนาเดินเก็บไปเรื่อย ๆ เนื่องจาก ต้นหมี่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้เกิดกับที่อีกทั้ง เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากนัก ใบมีกลิ่นฉุน ประโยชน์ที่ชาวบ้านพอจะใช้ได้คือร่มเงา มีใบค่อนข้างหนา ลำต้นสูง โปร่ง หลังจากที่ใช้ต้นหมี่ ที่กระจัดกระจายกันอยู่มาพอสมควร ทางบริษัทจึงใช้พื้นที่ที่ติดริมลำชี อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ แห่งนี้เพื่อปลูกต้นใบหมี่ จาก นั้น จึงได้ขุดต้นใบหมี่ที่เกิดตามทุ่งนา ตามป่าริมแม่น้ำ มารวมไว้ในสวนแห่งนี้ โดยมีระยะห่างในการปลูก 2x3 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 80 เซนติเมตร รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก ต้นหมี่เป็นพืชที่ทนแล้งแต่ก็ต้องการน้ำในระยะแรก และสามารถ เก็บใบได้หลังจากที่ผลิต ใบแล้วประมาณ 45-50 วัน การดูแลรักษาก็ดูเรื่องของวัชพืชที่กำจัดเดือนละ 1-2 ครั้ง ปัจจุบัน มีกว่า 200 ต้น
พืชสมุนไพรแต่ละชนิดแต่ละต้นล้วนมีคุณค่ามีคุณประโยชน์อยู่ในตัวมันเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะมีคนนำมาใช้ประโยชน์หรือไม่ ต้นใบหมี่เช่นกัน เป็นพืชพื้นบ้านที่มีมานาน แต่ดูเหมือนว่าช่วงหนึ่งที่ผ่านมาผู้คนจะลืมคุณประโยชน์ของมัน แต่ ณ วันนี้ ใบหมี่มีการหยิบยกขึ้นมาใช้ประโยชน์กันอย่างจริงจังทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น...ส่วนสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่คนยังไม่เห็นคุณค่า ยังคงยืนต้นรอที่จะให้ผู้คนนำมาใช้ประโยชน์ กันต่อไป.

มะพร้าวกะทิ 2 พันธุ์ใหม่...ทั้งเตี้ย ทั้งหอม

นับเป็นข่าวดีที่ กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อการค้า

นายสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2538 โดยได้รับความร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำกัด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งสนับสนุนพ่อพันธุ์มะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ 1 พันธุ์ จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์มะพร้าว 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำหอม สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด และสายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง พันธุ์ละ 100 ต้น
เบื้องต้นได้สายพันธุ์มะพร้าวลูกผสม กะทิ ชื่อย่อ NHK, YDK, RDK, TKK และ WAK ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองปลูกพร้อมคัดเลือกสายพันธุ์เรื่อยมากระทั่งปี 2549 พบว่า มะพร้าวลูกผสมกะทิ 2 พันธุ์มีความโดดเด่นและมีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ คือ YDK และ NHK ซึ่งเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มรายได้
สำหรับสายพันธุ์ YDK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย (พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะ เด่น คือ ออกจั่นและติดผลเร็วขณะที่ ต้นเตี้ย (สูงจากพื้นที่ดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร) หลังปลูกประมาณ 4 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/ไร่/ 3 ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี) คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่งปลูกปลอดจากมะพร้าวธรรมดา จะมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบการจัด การสวน
ส่วนสายพันธุ์ NHK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่) กับกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55% ของจำนวนต้นที่ปลูก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าว สามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยได้โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงคัพภะ (Embryo culture) เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงผลมะพร้าวกะทิน้ำหอม ก็จะได้ต้นพันธุ์มะพร้าว กะทิน้ำหอม 100%
กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าเพื่อเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งผลิตต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า 80 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองต้นพันธุ์เข้ามาแล้วกว่า 20,000 ต้น ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไป
หากสนใจเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583 begin_of_the_skype_highlighting 0-2579-0583 end_of_the_skype_highlighting ต่อ 135 หรือ สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7738-1963 begin_of_the_skype_highlighting 0-7738-1963 end_of_the_skype_highlighting.

ข่าวเกษตรวันนี้เราลองมาดู คุณป้าอายุ ๖๐ ปีชาวเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จกับ ปลูกผักหวานปลอดสารพิษขาย กันคะ

ผักหวานเป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่แต่ก่อนนั้นเป็นต้นไม้ป่าที่มีความสูงถึง  ๑๓  เมตร  แต่เมื่อนำมาปลูกและได้รับการรักษาดูแล  พร้อมกับมีการตัดแต่งกิ่งก้าน  รดน้ำ  ใส่ปุ๋ย  อยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  ก็สามารถเด็ดยอดตั้งแต่ยังเป็นต้นขนาดเล็ก  จึงทำให้ต้นผักหวานมีลักษณะต้นเตี้ย  เป็นพุ่ม  มีกิ่ง  มียอดมาก  กิ่งและยอดอ่อนของผักหวานจะเป็นส่วนที่คนนิยมบริโภคมากที่สุดในขณะนี้  เนื่องจากเป็นผักหวานที่ปลอดสารพิษตกค้าง  ทำให้ชาวเกษตรกรหันมานิยมปลูกเพื่อนำมาบริโภค  เนื่องจากมีคุณค่าสูงทางโภชนาการและสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่งด้วย
อย่างเช่นป้า  กิมล้วน  ยอดคง  อายุ  ๖๐  ปี  ชาวเกษตรบ้านหนองบ้วย  อ.ท่ายาง  ผู้นี้ได้หันมาทำแปลงเกษตรปลูกผักหวานปลอดสารพิษบนเนื้อที่ไม่กี่ไร่จนประสบผลสำเร็จมีรายได้ตกเดือนละ  ประมาณ  ๒  หมื่นบาท  ซึ่งถือว่ามีรายได้สูงเลยทีเดียว  ป้ากิมล้วน  บอกกับเราว่า  แต่ก่อนที่แปลงนี้เคยได้อาศัยทำนา  ต่อมาเมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในอำเภอท่ายาง  ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายอย่างมาก  จึงต้องถมดินให้สูงขึ้นแล้วตัดสินใจซื้อพันธุ์ผักหวานมาทดลองปลูกได้ประมาณ  ๖  เดือน  ก็สามารถเก็บผลผลิตไปจำหน่ายที่ตลาดกลางการเกษตรบ้านหนองบ้วย  ก็ปรากฏว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว  ปัจจุบันป้ากิมล้วน  กำลังขยายเนื้อที่เพาะปลูกผักหวานขึ้นอีกหนึ่งแปลง  และจะมีลูกจ้างคอยช่วยรักษาดูแลและเก็บผลผลิตอยู่เป็นประจำทุกวัน  ซึ่งก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย  โดยราคาของผักหวานขณะนี้ก็อยู่ที่กิโลกรัมละ  ๖๐บาท  ซึ่งป้ากิมล้วนบอกว่าเป็นราคาที่น่าพอใจ  แต่ถ้านำไปขายที่  กทม.จะมีราคาถึงกิโลกรัมละ  ๑๒๐  บาท  เลยทีเดียว
โดยสรรพคุณของผักหวานปลอดสารพิษนั้นจะมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
อยู่หลายชนิด  ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน  แคลเซี่ยม  ฟอสฟอรัส  ที่จะช่วยให้กระดูกฟันแข็งแรง  เมื่อร่างกายได้รับแคลเซี่ยมพร้อมแมกนีเซี่ยม  ที่มีอยู่ในผักหวาน  ก็จะช่วยให้การยืดหดของกล้ามเนื้อในร่างกายมีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปด้วย  เพราะฉะนั้นผู้ที่กำลังขาดสารชนิดดังกล่าว  ก็ขอแนะนำให้หันมาลองกินผักหวานกันดูบ้าง
  และปัจจุบันประชาชนก็ได้หันมาทำสวนผักหวานกันมากขึ้น  คาดว่าใน  อนาคตผักหวานก็จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน  และถ้าหากผู้ชมท่านใดสนใจพันธุ์ผักหวานของป้ากิมล้วนไปลองปลูกดูบ้าง  ก็สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข  โทรศัพท์  ๐๕-๒๑๔-๒๙๒๐  ย้ำอีกครั้งนะจะ