วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบหมี่...สมุนไพรสำหรับเส้นผม

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ใบหมี่เป็นพืชที่ให้สารเมือกที่มีประโยชน์ทางเครื่องสำอางโดยมีการนำมาทำยาสระผม ใบหมี่เป็นพืชในท้องถิ่น หาได้ง่าย ราคาไม่แพง ชาวบ้านนิยมนำมาใช้สระผมเนื่องจากมีสารเมือก (mucilage) ที่มี polysac charide เป็นองค์ประกอบหลัก สารสกัดจากใบหมี่มีสารสำคัญที่มีสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาที่ใช้ภายนอก ใบหมี่ มีชื่อในตำรับ ยาล้านนาว่า หมีเหม็น มีชื่อในท้องถิ่นอื่นในภาคเหนือว่า มะเย้อ, ยุบเหยา, หมีเหม็น, ยุกเยา, ยุบเย้า, ดอกจุ๋ม (ลำปาง), หมี่, ตังสีไพร (พิษณุโลก) เป็นต้น...

ใบหมี่เป็นไม้ยืนต้น ส่วนที่ใช้ประ โยชน์ทางยาและเครื่องสำอางของใบหมี่ คือ ราก เปลือกต้น ใบ เมล็ด และยาง ใบหมี่มีข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา คือ ราก แก้ไข้ออกฝีเครือ แก้ลมก้อนในท้อง แก้ฝี และแก้ริดสีดวงแตก ส่วนข้อบ่งใช้ทางแพทย์แผนไทย คือ ราก แก้ปวดตามกล้ามเนื้อ เปลือกต้น ใช้แก้ปวดมดลูก แก้คัน แก้อักเสบ แก้แสบตามผิวหนัง แก้บิด ใบใช้แก้ปวดมดลูก แก้ฝี แก้ปวด ถอนพิษร้อน เมล็ดใช้ตำพอก แก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบต่าง ๆ ยางใช้แก้บาดแผล แก้ฟกช้ำ



บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ติดริมลำน้ำชี ลำน้ำสาขาที่แยกพื้นที่ของสองจังหวัด ระหว่าง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ และ อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีสวนใบหมี่ ที่ปลูกขึ้นโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของใบหมี่ที่นำมาเป็นวัตถุหลักในการผลิตยาสระผม
นายรัชชัย ตลอดไธสง ผู้จัดการสวนสมุนไพรใบหมี่ เล่าให้ฟังว่า สวนสมุนไพรใบหมี่นี้เกิดจากความตั้งใจที่จะรวบรวมนำต้นหมี่มารวมไว้ในที่เดียว หลังจากที่มีการทำธุรกิจแชมพูสมุนไพรจากใบหมี่สด ที่มีคุณสมบัติช่วยให้เส้นผมแข็งแรง โดยวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้นั้นเป็นใบหมี่สดถึง 95% จากเดิมนั้นใช้ใบหมี่ที่อยู่ตามหัว ไร่ปลายนาเดินเก็บไปเรื่อย ๆ เนื่องจาก ต้นหมี่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้เกิดกับที่อีกทั้ง เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากนัก ใบมีกลิ่นฉุน ประโยชน์ที่ชาวบ้านพอจะใช้ได้คือร่มเงา มีใบค่อนข้างหนา ลำต้นสูง โปร่ง หลังจากที่ใช้ต้นหมี่ ที่กระจัดกระจายกันอยู่มาพอสมควร ทางบริษัทจึงใช้พื้นที่ที่ติดริมลำชี อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ แห่งนี้เพื่อปลูกต้นใบหมี่ จาก นั้น จึงได้ขุดต้นใบหมี่ที่เกิดตามทุ่งนา ตามป่าริมแม่น้ำ มารวมไว้ในสวนแห่งนี้ โดยมีระยะห่างในการปลูก 2x3 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 80 เซนติเมตร รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก ต้นหมี่เป็นพืชที่ทนแล้งแต่ก็ต้องการน้ำในระยะแรก และสามารถ เก็บใบได้หลังจากที่ผลิต ใบแล้วประมาณ 45-50 วัน การดูแลรักษาก็ดูเรื่องของวัชพืชที่กำจัดเดือนละ 1-2 ครั้ง ปัจจุบัน มีกว่า 200 ต้น
พืชสมุนไพรแต่ละชนิดแต่ละต้นล้วนมีคุณค่ามีคุณประโยชน์อยู่ในตัวมันเอง ขึ้นอยู่กับว่าจะมีคนนำมาใช้ประโยชน์หรือไม่ ต้นใบหมี่เช่นกัน เป็นพืชพื้นบ้านที่มีมานาน แต่ดูเหมือนว่าช่วงหนึ่งที่ผ่านมาผู้คนจะลืมคุณประโยชน์ของมัน แต่ ณ วันนี้ ใบหมี่มีการหยิบยกขึ้นมาใช้ประโยชน์กันอย่างจริงจังทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น...ส่วนสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่คนยังไม่เห็นคุณค่า ยังคงยืนต้นรอที่จะให้ผู้คนนำมาใช้ประโยชน์ กันต่อไป.

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2553 เวลา 23:06

    ดีมาเลย เป็นความรู้ใหม่

    น่าติดตามมาก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2553 เวลา 23:37

    จร้าๆ
    มาเม้นให้แล้วน่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ5 สิงหาคม 2553 เวลา 23:46

    สมุนไพรไทย น่าสนับสนุน

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ6 สิงหาคม 2553 เวลา 00:05

    มีประโยชน์มากๆ

    ตอบลบ